ประเภทของสีน้ำ
ประเภทของสี ในงานก่อสร้างและตกแต่งนั้นมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน การนำมาใช้งานจึงต้องดูลักษณะของการใช้งานด้วยให้เหมาะกับประเภทของสีนั้นๆ เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด
สีแบ่งออกเป็น
1. สีรองพื้น ( Primer ) เป็นสีที่มีคุณสมบัติช่วยประสานระหว่างสีทับหน้าในชั้นต่อๆไปกับผิววัสดุให้สามารถยึดเกาะกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถช่วยขับสีของสีทับหน้าให้สดสวยตามความต้องการอีกด้วย การที่ไม่ทาสีรองพื้นก่อนจะทำให้การทาสีขึ้นสียาก จะสิ้นเปลืองสีจากการทาหลายชั้นและสีจะไม่คงทนอีกด้วย
โดยสีรองพื้นสำหรับงานปูนนั้นยังได้แบ่งประเภทของสีรองพื้นออกไปอีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสีให้ดียิ่งขึ้น การเลือกสีรองพื้นเพื่อให้การทาสีทับหน้ายึดเกาะกับผนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคงทนนาน โดยทั่วๆไปจะมีสีรองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ สีรองพื้นปูนใหม่ และ น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า หรือ “สีรองพื้นปูนเก่า” โดยมีรายละเอียดในการนำไปใช้งานต่างกัน ดังนี้
–สีรองพื้นปูนใหม่ โดยทั่วไปจะเป็น “สูตรน้ำ” โดยมีกาวเป็นอะครีลิค 100% (100% Acrylic Resin) ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความเป็นด่าง (Alkali) ได้ดี รวมทั้งมีการยึดเกาะได้ดีเยี่ยมบนผนังปูน เนื้อสีเป็นสีขาว จึงทำให้ประหยัดสีทับหน้าไปในตัว โดยควรทาหลังจากการฉาบปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อให้ความเป็นด่างลดลง & ความชื้นในปูนฉาบลดลงด้วย (ไม่เกิน 14%) โดยทั่วไปผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดให้ทา 1 เที่ยว แต่ไม่ควรทิ้งให้สีรองพื้นตากแดดตากฝนนานเกินไป ควรทาสีทับหน้าภายใน 2-3 สัปดาห์ และควรเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่ให้ถูกรุ่นกับสีทับหน้า ตามที่ผู้ผลิตจำหน่ายกำหนดไว้ เพราะบางครั้งช่างก็ใช้รองพื้นยี่ห้อตามที่ถูกกำหนดมา แต่ไปเลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่สลับรุ่นไป (ยี่ห้อหนึ่งๆ จะมีสีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง หลายรุ่น คู่กับสีทับหน้าแต่ละรุ่น)
-น้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่า โดยทั่วไปเดิมจะเป็นสูตรน้ำมันที่มีลักษณะเป็นสีใสและเหลวพร้อมใช้งาน มีกลิ่นค่อนข้างแรง จึงเหมาะกับงานผนังปูนที่ผ่านการทาสีมาแล้ว และด้วยเป็นสีที่มึคุณสมบัติในการแทรกซึมได้ดีเยี่ยม จะแทรกซึมผ่านเข้าไปในฟิล์มสีเดิม (ที่หลงเหลืออยู่หลังการเตรียมพื้นผิว >> ขัดล้าง หรือฉัดล้าง) เพื่อเข้าไปฟื้นฟูสภาพฟิล์มสีเดิม รวมทั้งน้ำยารองพื้นบางส่วนยังแทรกซึมผ่านฟิล์มสีเดิมเข้าสู่เนื้อปูน เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะให้สีเดิมยึดเกาะผนังได้แข็งแรงขึ้น ไม่หลุดล่อนออกมาภายหลังการทาสีทับหน้าปรับปรุงใหม่ไปแล้ว
2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า
3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีในขั้นตอนสุดท้ายที่ให้ความสวยงามตามความต้องการมีอยู่ 2 ประเภท คือ สีภายนอกและสีภายใน
–สีภายนอก คือ สีที่ทนต่อสภาวะอากาศได้ดีกว่าสีภายใน สามารถกันความร้อนและแสงUVจากแสงอาทิตย์ได้ ช่วยให้สรสดสวยได้นานหลายปี แต่หากนำสีภายในมาทาภายนอกนั้นจะซีดง่ายไม่เกิน1ปี อาคารที่ทาสีไว้สดสวยก็จะหมองและซีดลง
–สีภายใน เป็นสีที่สำหรับทาภายในโดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่คงทนน้อยกว่าสีภายนอกแต่มีความสดสวยของสีที่คงทน อยู่ได้นานนับ10ปี
โดยในส่วนของสีทับหน้านั้นยังสามารแบ่งออกได้อีกเป็น2ชนิดคือสีกึ่งเงาและสีด้าน
-สีด้าน คือสีภายในที่ทาแล้วจะไม่สะท้อนแสง แต่ไม่สามารถเช็ดรอยสกปรกได้เนื่องจากจะทำให้ชั้นสีบางและจางลง เหมาะสำหรับการนำไปทาในส่วนที่ไม่ต้องการให้สะท้อนเงาแสงเช่น ฝ้าเพดานและผนังทั่วไป รวมถึงในงานรีโนเวทอาคารเก่าที่ต้องการทาเพื่อปกปิดรอยคลื่นของผนังที่ไม่เรียบสวยต่างๆให้เห็นชัดน้อยลง โดยราคาของสีชนิดนี้จะมีราคราที่ถูกกว่าสีกึ่งเงา
-สีกึ่งเงา คือสีทาภายนอกและภายในที่สะท้อนเงาแสงได้ สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ มีความเงางามสวย แต่เหมาะกับงานฉาบผนังที่สวยงามจริงๆ เพราะถ้างานฉาบของช่างที่ทำไว้ไม่เรียบร้อยการทาสีชนิดนี้จะเป็นโทษแก่งานนั้นทันที เนื่องจากจะเห็นร่องรอยความไม่สวยงามต่างๆได้อย่างชัดเจน และสีชนิดนี้มีราคาที่สูงกว่าชนิดด้านอยู่ประมาณ20% จึงต้องเลือกใช้งานในพื้นที่ๆต้องการสีชนิดนี้จริงๆ
จะเห็นว่าสีมีอยู่หลายชนิดที่สามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการและหน้างานได้ โดยถ้าหากเลือกถูกต้องอาคารของท่านและความสวยงามของงานทาสีจะคงอยู่กับอาคารท่านไปได้นานนับ10ปีเลยทีเดียว
>>อ่านบทความเกี่ยวกับงานรั่วซึมก่อนขั้นตอนทาสีได้ที่นี่ คลิก
บริษัทเรารับออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคารทุกประเภทด้วยมัณฑนากรและทีมช่างคุณภาพประสบการณ์มากกว่า20ปี โดยท่านสามารถส่งความต้องการมาหาเราได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
สนใจติดต่อ งานออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคาร