เหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง

0

“เราเป็นมากกว่าบริษัทรับออกแบบก่อสร้างและรีโนเวทตกแต่ง เพราะนอกจากเสนองานออกแบบที่มีคุณภาพให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างเบื้องต้นให้แก่ท่านด้วยด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้ท่านรู้จริง รู้ทัน อันจะทำให้ท่านได้รับแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้องนั่นเอง”

เหล็กในงานก่อสร้าง

เหล็กในงานก่อสร้าง ตอนที่ 2

เหล็กในงานก่อสร้าง มีมากมายหลายชนิด การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเกี่ยวเนื่องกับต้นทุนในการก่อสร้างอย่างมาก การเลือกใช้เหล็กจึงจำเป็นต้องใช้ตามมาตราฐานของงาน ไม่มากไป น้อยไป และมีความเข้าใจเรื่องงานก่อสร้างเป็นอย่างดีจึงจะช่วยให้การใช้เหล็กอยู่ในงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไปได้

หลังจากที่ได้อธิบายถึงกระบวนการได้มาของเหล็กและการผลิตไปแล้ว ในบทความที่แล้ว(อ่านบทความที่แล้ว คลิก) ในบทความนี้จะจำแนกเหล็กประเภทต่างๆที่ควรใช้ในงานก่อสร้าง และงานที่ทำอยู่ควรใช้เหล็กแบบไหน บทความนี้ได้ดังนี้

1 เหล็กในงานโครงสร้าง คือ เหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างอาคารเพื่อความแข็งแรงของเสาและคานโดยเฉพาะ เหล็กโครงสร้างแบ่งได้ดังนี้

1.1 เหล็ก H-Beam เหล็กรูปตัว H ลักษณะเด่นคือ ปีก มีความกว้างเท่ากันกับความกว้างของแผ่นตรงกลาง ใช้ในงานโครงสร้างที่เป็นเหล็กพวกเสาและคานเป็นต้น ให้ความแข็งแรงได้ดีมากเมื่อเทียบกับคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งขึ้นกับขนาดของเหล็กในการคัดเลือกอีกครั้ง การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานจึงควรให้เป็นหน้าที่ของวิศวกรหรือผู้ชำนาญงาน

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็ก H-Beam

1.2 เหล็ก I-Beam เหล็กตัวไอ จะมีลักษณะของ ปีกบนและปีกล่างเป็นแผ่นเอียง ความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อสามารถรับแรงกระแทกได้ดี เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน มีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-Beam นิยมใช้ในงานเสาโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารและบ้านที่เป็นโครงสร้างเหล็ก เหล็ก I-Beam มีการรับน้ำหนักได้มากกว่า H-Beam เนื่องจากความกว้างตรงกลางที่มากกว่าจึงนิยมนำมาทำเป็นเสาของอาคาร เป็นต้น

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็ก I-Beam

1.3 เหล็กไวด์แฟรงค์ WF จะมีลักษณะเด่นตรงที่ ความกว้างของแผ่นเหล็กตรงกลางจะมากกว่าปีกทั้งที่ข้าง และ มีความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ นิยมนำมาใช้ในงานโครงสร้างทั้งเสาและคานเช่นเดียวกับ I-Beam การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับการคำนวณการรับนำหนักเป็นสำคัญ

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กไวด์แฟรงค์ WF
เหล็กในงานก่อสร้าง
ข้อแตกต่างของเหล็ก H-Beam , I-Beam , WF

**เหล็ก H-Beam , I-Beam , WF จึงเป็นเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างที่เป็นเหล็กทั้งหมด ส่วนในเรื่องของการนำไปใช้ เหล็ก H-Beam กับ I-Beam นั้นผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานที่ต่างกัน H-Beam จะใช้สำหรับโครงสร้างขนาดย่อมๆ เช่น งานบ้าน หรืออาคารขนาดเล็ก รับน้ำหนักได้ดี แต่รับแรงกระแทกได้ไม่มาก ซึ่งต่างจากเหล็ก I-Beam ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับแรงกระแทกหนักๆ อย่างรางเลื่อน ตัวเครนยกของหนักๆ ตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างขนาดใหญ่ เพราะให้การรับน้ำหนักที่ดี แต่ถ้า..เลือกเหล็ก I-Beam มาสร้างบ้านจะได้ไหม สามารถใช้ได้ ส่วนการจะเลือกใช้ว่าจะใช้ชนิดไหนนั้นอยู่ที่การคำนวณและออกแบบโดยวิศวกรอีกครั้ง โดยอาจจะใช้ทั้ง H-Beam , I-Beam , WF ก็ได้

1.5 เหล็กเส้นกลม โดยทั่วไปมักเรียกว่า RB ที่ย่อมาจาก Round Bar เหล็กชนิดนี้ จะมีลักษณะผิวเรียบ หน้าตัดกลม ไม่มีรอยปริแตก ไม่มีลูกคลื่น เหล็กเป็นเส้นตรงไม่เบี้ยว ส่วนมากจะใช้ในงานปลอกเสา ปลอกคาน และงานก่อสร้างขนาดเล็ก แต่เพราะเนื้อผิวของเหล็ก RB นั้นเรียบมน จึงไม่นิยมใช้ในการยึดเกาะ

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กเส้นกลม

1.6 เหล็กข้ออ้อย โดยทั่วไปมักเรียกว่า DB ที่ย่อมาจาก Deformed Bar มีลักษณะผิวเป็นปล้องๆ มีรอยบั้งตลอดเส้น ทำให้เหล็กข้ออ้อยจะสามารถยึดเกาะได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลมเนื่องจากผิวขลุขละนี้เอง โดยจะมีความแข็งแรงกว่าเหล็กเส้นกลมและสามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า จึงนิยมใช้ในงานก่อสร้างที่เน้นโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม โดยใช้เป็นใส้ในของเสาและคาน เป็นต้น

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กข้ออ้อย

2 เหล็กในงานสถาปัตยกรรมเพื่อการตกแต่ง เป็นเหล็กที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมของอาคาร เช่น งานตั้งเสาอาคารขนาดเล็ก1-2ชั้นรับโครงหลังคา งานระแนงตกแต่งต่างๆ งานรั้ว งานฝ้าตกแต่งหรืออื่นๆ ฯลฯ แบ่งออกได้ดังนี้

2.1 เหล็กกล่อง เป็นเหล็กที่มีใช้กันแพร่หลาย หรือว่าบางทีเรียกว่า เหล็กแป๊ปเหลี่ยม หรือว่า ท่อเหลี่ยม เหมาะกับการใช้กับงานโครงสร้างเบา หรือใช้ในงานโครงสร้างหลังคา หรืองานก่อสร้างทั่วไป ขนาดเหล็กและความหนา จะมีผลต่อน้ำหนัก ซึ่งส่งผลต่อราคาของเหล็กกล่องนั้นๆ เหล็กกล่องเป็นที่นิยมใช้อย่างมากในปัจจุบัน ขนาดมาตรฐานที่โรงงานผลิต คือ ขนาดความยาว 6 ม. เหล็กกล่องมีหลายความหนาให้เลือก โดยความหนามากส่วนใหญ่นิยมสำหรับการตั้งเสาและคานของอาคารขนาดเล็ก ส่วนขนาดบางกว่านิยมใช้ในงานตกแต่งเพื่อความสวยงามทั่วไป

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กกล่องชนิดแบน
เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กกล่องชนิดเหลี่ยม

2.2 เหล็กตัวซีC และตัวยูU มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวซี (C) เป็นเหล็กรูปพรรณ ขึ้นรูปเย็น เนื่องจากมีความหนากว่าเหล็กกล่องทั่วไปจึงนิยมใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป การทำโครงหลังคา แป ต่างๆ

เหล็กในงานก่อสร้าง
เหล็กตัว C

2.2 เหล็กแป๊ป มีชื่อเรียกหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า เหล็กท่อดำ, แป๊บดำ, เหล็กหลอด, กลมดำ, ท่อดำ เป็นเหล็กรูปพรรณกลวงแบบกลมชนิดหนึ่ง สามารถดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายทั้งท่อ ราง ราว ต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้งานในส่วนงานตกแต่งได้อย่างหลากหลาย

เหล็กในงานก่อสร้าง
แป๊ปกลม

2.3 เหล็กไวซ์เมส เป็นเหล็กที่ใช้เครื่องจักรในการเชื่อมสปอตหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน จึงทำให้ได้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชที่มีจุดเชื่อมและระยะห่างที่คงที่ นิยมนำไปใช้ปูก่อนเทพื้นเพื่อการประสานคอนกรีตให้มีคุณภาพที่ดีและได้มาตราฐาน รวมถึงมีความแข็งแรงและประหยัดเวลาในการผูกเหล็กไปได้มาก สามารถควบคุมงบประมาณและคุณภาพของการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น

เหล็กในงานก่อสร้าง
ไวซ์เมส
เหล็กในงานก่อสร้าง
ไวซ์เมส กับการใช้งานจริง

2.4 เหล็กแผ่น เป็นเหล็กที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีลวดลายต่างๆ นิยมนำไปปูเป็นเครื่องเรือนหรือปูพื้นในงานตกแต่งภายใน รวมถึงหากมีขนาดเล็กก็นิยมหลอมให้หนาเพื่อใช้วางก่อนการตั้งเสาหรือคานที่ต้องมีการยึดกับคอนกรีต เป็นต้น

เหล็กในงานก่อสร้าง
แผ่นพื้นเหล็ก
เหล็กในงานก่อสร้าง
แผ่นเหล็ก

ทั้งหมดนี้เป็นการแบ่งประเภทของเหล็กกับการใช้งานต่างๆ การเลือกใช้ตามประเภทควรมีการคำนวณทุกครั้งว่าประเภทการใช้งานนั้นมีการรับน้ำหนักโครงสร้างหรือวัตถุหรือไม่ ซึ่งหากเกี่ยวกับการรับน้ำหนักให้คำนวณความหนาให้ดีไม่ควรใช้บางเกินไป ซึ่งความหนา-บางนี้เกี่ยวข้องกับราคาที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น แต่หากหนาหรือใหญ่เกินความจำเป็นก็จะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุครับ

>>อ่านเพิ่มเกี่ยวกับเหล็กโครงสร้างต่อได้ที่นี่ คลิก

“เราเป็นมากกว่าบริษัทรับออกแบบก่อสร้างและรีโนเวทตกแต่ง เพราะนอกจากเสนองานออกแบบที่มีคุณภาพให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างเบื้องต้นให้แก่ท่านด้วยด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้ท่านรู้จริง รู้ทัน อันจะทำให้ท่านได้รับแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้องนั่นเอง” บริษัทเรารับออกแบบก่อสร้าง รีโนเวท และตกแต่งภายในอาคารทุกประเภทด้วยสถาปนิกและมัณฑนากรมืออาชีพ รวมถึงทีมช่างคุณภาพประสบการณ์มากกว่า20ปี โดยท่านสามารถส่งความต้องการมาหาเราได้ตามช่องทางข้างล่างนี้

สนใจติดต่อ งานออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคาร

        • นัดดูหน้างานได้ที่ 095-864-6299
        • ส่งภาพหน้างานและพูดคุยได้ที่ Line
          เพิ่มเพื่อน
        • Email : thaimawee@hotmail.com
        • ติดตามเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/weeinterior

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *