ฐานรากแผ่

ฐานรากแผ่

ฐานรากแผ่คืออะไร

ฐานรากแผ่ หลายท่านอาจคุ้นๆหรือไม่ก็เพิ่งเคยได้ยิน เพราะท่านอาจคุ้นแต่กับคำว่าฐานราก ซึ่งเอาให้เข้าใจง่ายๆเลยคือถ้าฐานรากจะใช้ร่วมกับเสาเข็ม แต่ฐานรากแผ่จะเป็นงานโครงสร้างที่ไม่มีเสาเข็มหรือฐานรากแผ่จะไม่มีเสาเข็มนั่นเอง

ฐานรากแผ่
ฐานรากแผ่
งานฐานรากแผ่ที่ไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม

อ้าว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการสร้างบ้านหรือสร้างอาคารโรงเรือนทั่วไปนั้นควรมีหรือไม่มีเสาเข็ม ตอบได้ง่ายๆ ว่ามีสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่2ปัจจัยด้วยกัน คือ การรับน้ำหนักในเสาแต่ละต้นและความแข็งของดินในพื้นที่นั้นๆ

ปัจจัยแรก การรับน้ำหนักลงเสาในแต่ละต้น จะถูกคำนวณโดยวิศวกรโยธาว่าอาคารที่สร้างนั้นเมื่อคำนวณน้ำหนักทั้งหมดรวมการใช้งานในแต่ละพื้นที่ในอาคารด้วย เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะทำให้เสาในแต่ละต้นรับน้ำหนักเท่าไหร่ ถ้าเพียงพอต่อการรับน้ำหนักของฐานรากแผ่ก็ไม่ต้องลงเสาเข็ม(เอาปัจจัยที่2มาประกอบด้วย)

ปัจจัยที่2 ดินในแต่ละพื้นที่มีความแข็งอ่อนต่างกัน พื้นที่ภาคเหนือภาคกลาง พื้นที่ติดภูเขาติดแม่น้ำติดทะเล ล้วนมีความเชื่อมโยงให้ดินในแต่ละพื้นที่มีสภาพอ่อนหรือแข็ง ซึ่งปัจจัยนี้เองทำให้ทราบได้ว่าในแต่ละตารางเมตรดินเดิม(ไม่รวมดินถม)รับน้ำหนักได้ตารางเมตรละเท่าไหร่ โดยดินในแต่ละพื้นที่จะถูกสำรวจโดยนักธรณีวิทยาและประสบการณ์โดยตรงของผู้รับเหมาตอกเสาเข็มซึ่งประมาณได้ดังนี้

1.ภาคกลาง ภาคเหนือหรือภาคอีสาน รับน้ำหนักได้ประมาณ 8 ตันต่อตารางเมตร

2.ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง รวมถึงภาคใต้ รับน้ำหนักได้ประมาณ 10 ตันต่อตารางเมตร

3.โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล รับน้ำหนักได้ประมาณ 12 ตันต่อตารางเมตร

4.กรุงเทพฯปริมณฑล รวมถึงพื้นที่ลุ่มติดแม่น้ำใกล้ทะเล หรือพื้นที่ดินอ่อน รับน้ำหนักได้ประมาณ 2 ตันต่อตารางเมตร

เมื่อทราบแล้วว่าพื้นที่หน้างานเป็นดินประเภทไหนก็สามารถเอาน้ำหนักในแต่ละเสาที่รับแรงมาคำนวณได้เลย ตัวอย่างเช่น โรงเรือนดังกล่าวสร้างอยู่บนพื้นที่ภาคกลางที่ไม่ติดแม่น้ำ เมื่อวิศวกรคำนวณดูแล้วสรุปได้ว่าเสาในแต่ละต้นจะต้องรับน้ำหนักของอาคารอยู่ที่12ตันต่อต้น ก็สามารถใช้ฐานรากแผ่ขนาด1x2m.ได้ โดยที่ไม่ต้องลงเสาเข็ม เพราะฐานรากแผ่ขนาดดังกล่าวสามารถรับน้ำหนักได้16ตันนั่นเอง(พื้นที่ภาคกลางดินเดิมรับน้ำหนักได้8ตันต่อตารางเมตร) โดยความหนาทั่วไปของฐานรากแผ่มักอยู่ที่60cm. หรือสรุปง่ายๆว่าเคสดังกล่าวไม่ต้องลงเสาเข็มแต่ใช้ฐานรากแผ่ได้ที่ขนาด 1x2x0.6m. นั่นเอง

ฐานรากแผ่
: ขอขอบคุณภาพจากบ้านและสวน
ฐานรากแผ่
ขนาดโดยประมาณของฐานรากแผ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกรเป็นสำคัญ

ซึ่งการก่อสร้างในส่วนของฐานรากแผ่จะต้องทำในดินเดิมเท่านั้นไม่รวมดินถมโดยฐานรากแผ่ต้องอยู่ลึกลงจากดินเดิมลงไปที่ขั้นต่ำ1เมตร การสังเกตว่ามีดินถมหรือไม่และดินเดิมกับดินถมแตกต่างกันอย่างไรในกรณีที่เจ้าของที่ไม่ทราบว่ามีการถมดินบริเวณนี้หรือไม่ ก็สามารถใช้รถแม็คโครขุดดินลงไปให้ลึก ก็จะสังเกตเห็นสีของดินที่ถูกตักออกไปที่ต่างกัน(สังเกตมองลงไปในหลุมที่เอาดินออกไปแล้ว)โดยหากเห็นเป็น2สีที่ต่างกันแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกถมเพิ่มภายหลัง แต่ถ้ามีสีเดียวแสดงว่าพื้นที่นี้ไม่เคยถมดิน

ฐานรากแผ่
จากภาพจะเห็นได้ว่าดินเดิมมีลักษณะเข้มกว่าดินถมชั้นบนอยู่พอสมควรแสดงว่าดินถมลึกราวๆ80-100cm. ส่วนด้านล่างสีเข้มเป็นดินเดิม

หากพื้นที่มีการถมดินให้นับเอาดินเดิมเท่านั้นที่ต้องขุดลงไปให้ลึกขั้นต่ำ1เมตร ตัวอย่างเช่น เมื่อทำการขุดดินลงไปแล้วพบว่ามีดินถมที่1.5m. ในการทำฐานรากแผ่ที่ความหนาหนา60cm.+เทลีน15cm.+ตอม่อ50cm.(มีหรือไม่มีก็ได้ แต่หากมี)+คานคอดิน40cm. ช่างจะต้องทำการขุดดินลงไปให้ลึก(1.5+0.6+0.15+0.5+0.4=3.1m.) ที่ความลึก3.15เมตรนั่นเอง แต่หากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการถมดินเลย ก็ทำการก่อสร้าฐานรากแผ่โดยขุดดินที่ความลึก 1.65m.ได้เลย **แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูระยะความสูงของพื้นชั้น1ประกอบอีกครั้งก่อนการคำนวณ แต่โดยมากมักจะไปยืดหยุ่นที่ความสูงของตอม่อเป็นสำคัญ

ฐานรากแผ่
จากภาพแสดงให้เห็นว่าดินสามารถรับน้ำหนักได้10ตันต่อตารางเมตร การทราบเช่นนี้แสดงว่าได้มีการสำรวจพื้นที่แล้ว

โดยมากที่ผู้เขียนพบการทำฐานรากแผ่มักจะทำกับอาคารชั้นเดียวเป็นส่วนใหญ่ แต่อาคาร2ชั้นก็มีเช่นกันแต่ส่วนใหญ่มักเป็นโครงสร้างเหล็กที่น้ำหนักเบา สังเกตได้ว่าการมีความรู้ทางวิศวกรรมที่ดีจะทำให้ท่านสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้มาก จากเคสดังกล่าวท่านไม่ต้องลงเสาเข็มท่านจะประหยัดไปได้มากกว่า5หมื่นบาท(ขึ้นกับจำนวนเสาในอาคารว่ามีกี่ต้น)

ฐานรากแผ่
ยิ่งจำนวนเสามากหากไม่ได้ลงเสาเข็มก้เท่ากับว่าสามารถประหนัดเงินไปได้กว่าแสนบาทเลยทีเดียว

สำคัญอยู่ที่การคำนวณของทางวิศวกรเป็นสำคัญเพราะบางพื้นที่ที่อยู่ใกล้ภูเขาทั้งที่ต่อตารางเมตรดินสามารถรับน้ำหนักได้ถึง12ตันต่อตารางเมตร แต่หากวิศวกรคำนวณแล้วปรากฎว่าอาคารนี้มีการใช้งานที่ใช้น้ำหนักมากโดยน้ำหนักจะลงเสาลงฐานรากในแต่ละต้นมากกว่าที่ฐานรากแผ่จะรับน้ำหนักได้ก็จำเป็นต้องลงเสาเข็มแต่จะเป็นเสาเข็มแบบไหน ลงลึกเท่าไหร่ก็ต้องคำนวณสำรวจกันอีกครั้ง ซึ่งเรื่องของตอม่อและเสาเข็มในส่วนของเชิงลึกจะได้กล่าวในบทความต่อไป

จากบทความนี้ทางผู้เขียนคิดว่ามีประโยชน์อย่างมากเพราะเกี่ยวกับคำถามข้องใจของหลายๆท่านและเกี่ยวกับงบประมาณที่จะทำให้ท่านประหยัดลงไปได้มากหากไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม แต่สำคัญอยู่ที่ประสบการณ์เป็นสำคัญเหมือนดังสโลแกนของเว็บไซต์เราที่ว่า”เราไม่อยากให้ท่านเสียเวลากับคนไร้ประสบการณ์”นั่นเอง

>>อ่านเพิ่มเติมบทความเสาเข็มไมโครไพล์ คลิก

>>อ่านเพิ่มเติมบทความเสาเข็มเจาะ คลิก

>>อ่านเพิ่มเติมบทความตอม่อ คลิก

“เราเป็นมากกว่าบริษัทรับออกแบบก่อสร้างและรีโนเวทตกแต่ง เพราะนอกจากเสนองานออกแบบที่มีคุณภาพให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างเบื้องต้นให้แก่ท่านด้วยด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้ท่านรู้จริง รู้ทัน อันจะทำให้ท่านได้รับแต่สิ่งที่ดีที่ถูกต้องนั่นเอง” บริษัทเรารับออกแบบก่อสร้าง รีโนเวท และตกแต่งภายในอาคารทุกประเภทด้วยสถาปนิกและมัณฑนากรมืออาชีพ รวมถึงทีมช่างคุณภาพประสบการณ์มากกว่า20ปี โดยท่านสามารถส่งความต้องการมาหาเราได้ตามช่องทางข้างล่างนี้

สนใจติดต่อ งานออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคาร

        • นัดดูหน้างานได้ที่ 095-864-6299
        • ส่งภาพหน้างานและพูดคุยได้ที่ Line
          เพิ่มเพื่อน
        • Email : thaimawee@hotmail.com
        • ติดตามเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/weeinterior

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Verified by MonsterInsights