เสาเข็มเจาะเป็นยังไง?
เสาเข็มเจาะ หากพูดกันด้วยเรื่องของเสาเข็มแล้ว หลายท่านอาจยังไม่เข้าใจถึงรายละเอียดและประเภทของการใช้งานเสาเข็มในแต่ละประเภทกันซักเท่าไหร่ ว่ามีการใช้งานแบบไหนถึงจะเหมาะสม
หลังจากมีบทความเรื่องเสาเข็มไมโครไพล์ไปแล้ว คลิก ในครั้งนี้จะขอยกเสาเข็มอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน นั่นคือ เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะมีข้อดี คือ เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการสร้างแรงกระทบกระเทือนแก่บ้านข้างเคียง เช่น การตอกเสาเข็มทั่วไปจะสร้างแรงสั่นสะเทือนกับพื้นดินราบ ทำให้บ้านที่อยู่กว่าใกล้รัศมี 50 เมตรได้รับผลกระทบได้ การเลือกใช้เสาเข็มเจาะจึงเป็นทางออกที่ดีที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ และยังสามารถกำหนดสเปคของเสาเข็มได้อีกด้วย
ส่วนข้อเสียของเสาเข็มเจาะ คือ ไม่สามารถเจาะในที่คับแคบได้ เนื่องจากการทำงานต้องใช้ที่ๆมีรัศมีโดยรอบเสาไม่ต่ำกว่า3 เมตรในการทำงาน การเจาะเข้ามุมหรือพื้นที่ๆแคบกว่านี้ไม่สามารถทำงานได้
การทำงานของเสาเข็มเจาะ โดยอธิบายแบบหลักง่ายๆ ก็คือจะใช้วิธีการเจาะดินลงไปจนถึงระดับที่ต้องการ แล้วจึงนำเหล็กแกนพร้อมปลอกลงไปในหลุมที่เจาะไว้ จากนั้นจึงเทคอนกรีตตามค่าที่กำหนดลงไปในหลุมที่เจาะเตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการของเสาเข็มเจาะ แต่จริงๆจะมีวิธีการที่ต้องกำหนดมาตราฐานจากผู้เชี่ยวชาญที่มากกว่านั้น
การทำงานของเสาเข็มเจาะมีอยู่2ประเภท คือ เจาะแบบแห้งและเจาะแบบเปียก
1 การเจาะแบบแห้ง เป็นการเจาะเสาเข็มที่มีขนาดตั้งแต่ 6-20เมตร หรือระดับความลึกที่อยู่ไม่เกินระดับชั้นดินแข็ง เนื่องจากหากเกินระดับชั้นดินแข็งไปแล้วจะไม่สามารถเจาะผ่านระดับชั้นนี้ไปได้ จำเป็นต้องใช้ดอกสว่านขนาดใหญ่ถึงจะเจาะผ่านต่อไปได้ การเจาะแบบแห้งนี้เป็นการเจาะโดยการกดปลอกลงไปในชั้นดิน ซึ่งการกดปลอกลงไปนี้เองทำให้เมื่อถึงระดับชั้นดินแข็งแล้ว จะกดต่อไปไม่ลง เป็นการเจาะที่เหมาะกับอาคารขนาดเล็กที่มีระดับความสูงไม่เกิน3ชั้น
2 การเจาะแบบเปียก คือการเสาเข็มเจาะที่มีความลึกมากกว่า20เมตรขึ้นไป หรือการเจาะในระดับที่มากกว่าชั้นดินแข็ง ที่ไม่สามารถเจาะแบบปรกติได้(แบบแห้ง) ต้องใช้การเจาะด้วยดอกสว่านขนาดใหญ่ ถึงจะเจาะลึกลงไปมากกว่าชั้นดินแข็งได้ การเจาะแบบนี้จะใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้เป็นอย่างดี
หากท่านเลือกใช้เสาเข็มเจาะ ท่านจะต้องทราบสเปคจากวิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้วยว่าท่านต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง โดยแบ่งความสำคัญที่ควรทราบไว้ดังนี้
1 ความลึกของของหลุมที่เจาะ จะเป็นความลึกที่คำนวณโดยวิศวกรว่าต้องการความลึกที่เท่าได
2 เส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไหร่ สิ่งนี้มีความสำคัญต่อการรับน้ำหนักโดยตรง โดยทั่วไปจะใช้ที่ขนาด35cm. สำหรับอาคารขนาดเล็ก และแล้วแต่การคำนวณของวิศวกร ว่าจะใช้ให้เหมาะสมกับความลึกหลุมได้อย่างไร
3 คอนกรีตใช้ชนิดอะไร คอนกรีตมีหน่วยวัดความแข็งของคอนกรีต คือ (KSC) ค่านี้จะบอกความแข็งของคอนกรีต โดยค่าเริ่มต้นที่ควรใช้ไม่ควรต่ำกว่า ค่า KSC280 จึงจะเป็นค่าที่รับได้สำหรับงานเสาเข็มเจาะเริ่มต้น โดยท่านสามารถตรวจค่านี้ได้จากใบส่งมอบคอนกรีตจากรถโม่ที่ผู้รับเหมาเตรียมมา ส่วนค่าที่ต้องสนใจอีกหนึ่งตัวคือ Slump Test(ค่าการยุบตัวของคอนกรีต) ควรให้อยู่ในค่า 7.5-10cm. จะสามารถบอกความข้นเหลวและประสิทธิภาพของการผสมคอนกรีตได้ ซึ่งมีความสำคัญต่องานเสาเข็มโครงสร้าง
4 เหล็กแกนใช้เหล็กอะไร หนาเท่าไหร ระยะห่างเท่าไหร ทั่วไป ค่าเริ่มต้นควรเป็น เหล็กDB12mm.(เหล็กข้ออ้อยขนา12มิลลิเมตร) ระยะห่าง 10-18 cm. จึงจะเป็นค่าเริ่มต้นที่รับได้ หากใช้ต่ำกว่านี้จะแข็งแรงน้อยและมีผลต่ออนาคตได้
5 เหล็กปลอกใช้เหล็กอะไร หนาเท่าไหร่ ระยะห่างเท่าไหร่ เป็นเหล็กที่ใช้รัดรอบเสาควรใช้เหล็กขนาดRB6mm(เหล็กกลมขนาด6มิลลิเมตร)ขึ้นไป และระยะ@(ระยะห่าง)ไม่มากกว่า15 จึงจะถือว่าแข็งแรง
งานเสาเข็มเจาะสำหรับอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่ หากทราบสิ่งที่ควรทราบในเบื้องต้น จะทำให้งานที่ได้ออกมามีมาตราฐานและลดปัญหาที่จะเกิดดขึ้นได้ในอนาคต ยิ่งหากท่านไม่มีที่ปรึกษาหรือ Console ด้วยแล้วก็ง่ายสำหรับช่างมักง่ายเอาง่ายเข้าว่า และนั่นจะเป็นสิ่งร้ายในงานก่อสร้างอย่างแน่นอน
เพียงเท่านี้สำหรับท่านเจ้าของบ้านหรือเจ้าของอาคาร กับสิ่งที่ควรทราบเพื่อป้องกันช่างที่เข้ามาทำงานให้ท่าน มักง่ายและลักไก่ใช้วัสดุที่ไร้คุณภาพมาตราฐาน ซึ่งจะส่งผลเสียหายแก่อาคารของท่านได้ในอนาคต
>>อ่านเพิ่มเติมบทความเกี่ยวกับฐานรากได้ที่นี่ คลิก
“เราเป็นมากกว่าบริษัทรับสร้างบ้านและรีโนเวท เพราะนอกจากเสนองานออกแบบและสร้างบ้านให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านรู้จริงและรู้ทันช่างและได้รับแต่สิ่งที่ดีนั่นเอง” บริษัทเรารับออกแบบตกแต่งภายในร้านอาหารทุกประเภทด้วยมัณฑนากรมืออาชีพและทีมช่างคุณภาพประสบการณ์มากกว่า20ปี โดยท่านสามารถส่งความต้องการมาหาเราได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
สนใจติดต่อ งานออกแบบตกแต่งภายในและรีโนเวทอาคาร